หน้าหลักบุคลากรหน่วยงานอื่นหน่วยงานภายในธรรมนูญนิสิตกิจกรรมเสริมหลักสูตรรวมภาพกิจกรรมการแต่งกายที่ถูกต้องกยศ.กองทุนสวัสดิภาพฯดาวน์โหลดเอกสารต่างๆแผนการใช้เงินบำรุงกิจกรรมนิสิตประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ฯโครงการก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่

 

อาคาร 9 ศูนย์กิจกรรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศีราชา
ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
โทร.0-3835-4580 ต่อ 2630 โทรสาร.0-3835-4589


 
  • หน่วยกองทุนกู้ยืมเพื่อเพื่อการศึกษา (กยศ.)

มีหน้าที่ดำเนินการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาลแก่นิสิต ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ให้เป็นไปตามคุณสมบัติของระเบียบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)
(เฉพาะนิสิตชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป(รหัส 48 ลงมา) ที่เคยกู้ยืมมาก่อน)
 
            กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวัน 28 มีนาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมยืมเงินแก่นักเรียน
หรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย ์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการศึกษา
ซึ่ง บมจ.ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม

  1.1 คุณสมบัติของผู้ยื่นขอกู้ยืม
  เป็นผู้มีสัญชาติไทย รายได้ของบิดา มารดา และนิสิตผู้ขอกู้ยืม รวมกันไม่เกิน 150,000 บาท/ปี หากผู้ปกครองมิใช่บิดามารดาให้ถือรายได้ของผู้ปกครองแทนบิดา มารดา ไม่เคยเรียนจบระดับปริญญาตรีมาก่อน ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เคยรับโทษจำคุก มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดีและมีคุณสมบัติครบถ้วนตรมระเบียบของสถานศึกษา
1.2 ค่าใช้จ่ายที่พึงกู้ได้ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับเอนุมัติจากรัฐบาลในปีการศึกษานั้น ๆ
  นิสิตผู้ขอกู้ จะกู้เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เฉพาะค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1. ค่าบำรุงการศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา จ่ายตามภาค หรือปีการศึกษา
      ตามที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บ โดยจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการศึกษานั้น
ี้2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น หนังสือ ตำรา อุปกรณ์ประกอบการเรียน นอกเหนือจากข้อ 1. ให้จ่ายเข้าบัญชีของนิสิตผู้กู้ยืมเงิน
ี้3. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการเรียนจะจ่ายเข้าบัญชีของนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมเงิน

  1.3 เมื่อผู้กู้จบการศึกษาระดับสุดท้ายแล้ว 2 ปี ต้องใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีในระยะเวลา 15 ปี ดังนี้
 
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ 1
1.5
ปีที่ 9
7.0
ปีที่ 2
2.5
ปีที่ 10
8.0
ปีที่ 3
3.0
ปีที่ 11
9.0
ปีที่ 4
3.5
ปีที่ 12
10.0
ปีที่ 5
4.0
ปีที่ 13
11.0
ปีที่ 6
4.5
ปีที่ 14
12.0
ปีที่ 7
5.0
ปีที่ 15
13.0
ปีที่ 8
6.0

2. กองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ. หรือ ICL)
 
            (เริ่มปีการศึกษา 2549 เฉพาะนิสิตชั้นปีที่ 1 (รหัส 49 )เท่านั้นโดยขอกู้ยืมผ่านฝ่ายการศึกษา วิทยาเขตศรีราชา)
นโยบายปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนดำเนินการจัดการศึกษาในเงื่อนไขที่มี
ความเท่าเทียมกันเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษา มีการบริหารจัดการที่ดี มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน และแข่งขันกันเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา โดยจัดให้มีกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เพื่อเป็นกลไกในการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงานของประเทศโดยให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

  3. การกู้ยืมค่าครองชีพ (สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปี่ที่ 1 ปีการศึกษา 2549)
 
            เนื่องจากการกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระบบเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สามารถกู้ยืมได้เฉพาะค่าเล่าเรียน กองทุนฯ (กยศ.)
จึงให้มีการกู้ยืมค่าครองชีพสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพนักศึกษาที่ยากจน
โดยกำหนดให้กู้ได้รายละ 2,000 บาทต่อเดือนหรือ 24,000 บาทต่อปี

  หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอกู้ยืมค่าครองชีพ
  1. กองทุนจะจัดสรรให้สถานศึกษาโดยตรง เป็นจำนวนทุน(ราย) ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ขอรับทุน กรอ.
2. การคัดเลือก การอนุมัติ การทำสัญญากู้ยืม ให้ดำเนินเช่นเดียวกับการกู้ยืมแบบ กยศ.
3. มีกำหนดระยะเวลาส่งสัญญากู้ยืม หากส่งไม่ทันกำหนด กองทุนฯ จะตัดสิทธิ์ทันที
4. หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นใช้เฉพาะปีการศึกษา 2549 เท่านั้น


  2.1 คุณสมบัติของผู้ขอรับทุนแบบต้องใช้คืน
  1. สัญชาติไทย
2. เป็นนิสิตนักศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาตอบรับเข้าศึกษา

  2.2 วงเงินให้ทุน
  รับทุนได้ตามอัตราค่าลงทะเบียนที่สถานศึกษากำหนด แต่ไม่เกินเพดานที่กำหนด ดังตาราง
ระดับปริญญาตรี
หน่วย : บาท/ปี
กุล่มสาขาวิชา
อัตราสูงสุด
1.สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร
60,000
2.ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร
60,000
3.วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
70,000
4.เกษตรศาสตร
70,000
5.สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์
80,000
6.แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์
150,000

  2.3 เงื่อนไขในการขอรับทุน และการชำระหนี้
  2.3.1 ขอรับทุนได้เฉพาะค่าเล่าเรียนเท่านั้น
2.3.2 ใช้คืนเมื่อสำเร็จการศึกษา หรืเลิกการศึษา ตามจำนวนและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
  1. ชำระคืนเมื่อมีรายได้ตั้งแต่ 16,000 บาท/เดือน
2. ชำระคืนผ่านระบบสรรพากร
3. ไม่มีดอกเบี้ย แต่เงินต้นหรือมูลหนี้จะปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภค(เงินเฟ้อ) ทุกปี ตั้งแต่ปีแรกที่ขอกู้ยืม แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
4. หนี้เป็นอันระงับ เมื่อผู้กู้ถึงแก่ความตาย หากพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้ หรือเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วยังชำระหนี้ไม่หมด
     อาจให้หนี้เงินทุนที่เหลือเป็นอันระงับ
5. หากผู้กู้ ไม่ชำระหนี้คืนโดยไม่มีเหตุอันควร กรมสรรพากรจะกำหนดให้ผู้กู้ชำระเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
     หรือดำเนินการยึด อายัด และส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย